เมนู

ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวก ของพระ-
สมณะโคดมในกาลก่อนมีปกติเป็นอยู่ง่าย
ไม่มักได้ แสวงหาบิณฑบาต [ตามได้]
ไม่มักได้แสวงหาเสนาสนะ [ตามได้] ท่าน
เหล่านั้นรู้ความไม่เที่ยงในโลกแล้ว ได้
กระทำที่สุดแห่งทุกข์แล้ว [ส่วนพวกท่าน]
ทำตนให้เป็นผู้เลี้ยงยาก ประดุจผู้เอาเปรียบ
ชาวบ้านในบ้าน กินแล้ว ๆ ก็นอนหมกมุ่น
อยู่ในเรือนของคนอื่น เราขอกระทำอัญชลี
แก่พระสงฆ์แล้ว ขอกล่าวถึงภิกษุที่ควร
กล่าวบางพวก ในพระศาสนานี้ ท่านเหล่า
นั้นถูกเขาทอดทิ้งหาที่พึ่งมิได้ เหมือน
อย่างคนที่ตายแล้ว ถูกเขาทอดทิ้งไว้ใน
ป่าช้า ฉะนั้น เรากล่าวหมายถึงภิกษุจำพวก
ที่เป็นผู้ประมาทอยู่ แต่ท่านเหล่าใดเป็น
ผู้ไม่ประมาทอยู่ เราขอกระทำการนอบ-
น้อมแก่ท่านเหล่านั้น.

ลำดับนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้อันเทวดานั้นให้สังเวชถึงซึ่งความ
สลดใจแล้วแล.

อรรถกถาปากตินทริยสูตรที่ 13


ปากตินทริยสูตรที่ 13 มีพิสดารอยู่ในชันตุเทวปุตตสูตร ในเทวปุตต-
สังยุต.

14. ปทุมปุปผสูตร



ว่าด้วยภิกษุขโมยกลิ่นปทุม



[795] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่ง พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่งใน
แคว้นโกศล สมัยนั้นแล ภิกษุนั้นกลับจากบิณฑบาตภายหลังเวลาฉัน ลงสู่
สระโบกขรณีแล้วสูคดมดอกปทุม.
[796] ครั้งนั้นแล เทวดาผู้สิงอยู่ในแนวป่านั้น มีความเอ็นดู ใคร่
ประโยชน์แก่ภิกษุนั้น หวังจะไห้เธอสลด จึงเข้าไปหาถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้
กล่าวกะเธอด้วยคาถาว่า
ท่านสูดดมดอกไม้ที่เกิดในน้ำซึ่ง
ใคร ๆ ไม่ได้ให้แล้ว นี้เป็นองค์อันหนึ่ง
แห่งความเป็นขโมย ท่านผู้นิรทุกข์ ท่าน
เป็นผู้ขโมยกลิ่น.

[797] ภิกษุกล่าวว่า
เราไม่ได้นำไป เราไม่ได้หัก เรา
ดมดอกไม้ที่เกิดในน้ำห่าง ๆ เมื่อเป็น
เช่นนี้ ท่านจะเรียกว่าเป็นผู้ขโมยกลิ่นด้วย
เหตุดังรือ ส่วนบุคคลที่ขุดเง่าบัว หักดอก
บัวบุณฑริก เป็นผู้มีการงานอันเกลื่อนกล่น
อย่างนี้ ไฉนท่านจึงไม่เรียกเขาว่าเป็น
ขโมย.

[798] เทวดากล่าวว่า
บุรุษผู้มีบาปหนา แปดเปื้อนด้วย
ราคาทิกิเลสเกินเหตุ เราไม่พูดถึงคนนั้น